ทริประนอง 5 วัน 4 คืน ตอนที่ 2

หลังจากพายุไล่ฝนก็ตกข้ามวันเลยครับ กว่าจะหยุดก็วันพฤหัสเลย โอเคร เสียเวลาไป 2 วันไม่เป็นไรน่ะ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน 2559 ( ฝนตก )

วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2559 ( ฝนตก )

วันพฤหัสที่ 16 มิถุนายน 2559 ( ฟ้าปิดมีฝนปอย ๆ )
โอเครเราได้วันไปพระราชวังรัตนรังสรรค์แล้วครับ หลังจากทานข้าวกลางวันที่ บริษัทฯ เตรียมให้เราก็ขับรถไปเลยครับ ณ เวลา 12.10น. 
ขับรถมาจากบริษัทฯ ไม่ไกลเลยครับวิ่งผ่านศาลากลางมา ขึ้นเขานิดนึงก็ถึงละครับ ทางเป็นวันเวย์ แต่บังเอิญผมขับเลยที่จอดรถ.......เลยต้องวนหาที่จอดรอบนึงครับ งั้นมาชมรูปที่ผมถ่ายมาเลยครับ
ถ่ายรูปไปได้ 3 - 4 รูป ครับ ฝนไล่ช้างเทลงมาเปียกหมดเลย ต้องวิ่งกลับไปที่รถ เซ็งมาก ๆ จังหวัดระนองเอาแน่เอานอนเรื่องฝนฟ้าไม่ได้ ใครมาแนะนำให้เอาเสื้อกันฝนหรือพกร่มมาด้วยก็ดีครับ ฮ่าาาาา

ประวัติของพระราชวังรัตนรังสรรค์
     พระราชวังรัตนรังสรรค์ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2433 โดย "พระยารัตนเศรษฐี" (คอมซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกเป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนองในวันที่ 23-25 เมษายน 2433 พระยารัตนเศรษฐีจึงได้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่ใจกลางเมือง

     เรื่องตำนานพระราชวังรัตนรังสรรค์นั้น เกี่ยวข้องตำนานเมืองระนอง โดยปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง เจ้าเมืองระนอง) สร้างที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่กลางเมือง สร้างล้วนด้วยเครื่องก่อประกอบกับไม้แก่นอย่างมั่นคง ประสงค์จะถวายเป็นราชพลีสนองพระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงชุบเลี้ยงสกุลวงศ์มา และทรงประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นเวลา 3ราตรี ระหว่าง 23-25 เมษายน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นดำรัสว่า“...ทำงดงามมั่นคงสมควรจะเป็นวัง ยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา...” จึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังรัตนรังสรรค์” ให้เป็นเกียรติยศแก่เมืองระนอง และสกุลของพระยารัตนเศรษฐีด้วย แต่ทรงพระราชดำริว่า ที่เมืองระนองนานๆ จะเสด็จประพาสครั้งหนึ่ง วังทิ้งไว้เปล่าก็จะชำรุดทรุดโทรมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า โดยปกติให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาล และทำพิธีสำหรับบ้านเมือง ต่อเมื่อมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ

ส่วนนี้คือหน้าประตูพระราชวังครับ ที่เห็นข้างหน้าเป็นโดมนั้นคือ มัสยิดอัลริดวาน ครับ และทางที่เห็นว่ารถวิ่งมานั้นเป็นทางไปตลาดสดและตลาดพม่าครับ (ขึ้นรถปุ่บฝนตกปับ แย่ ๆ ) งั้นไปจุดหมายต่อไปเลยดีกว่าครับ จวนเจ้าเมืองระนอง หรือ บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง

ถึงแล้วครับ จวนเจ้าเมืองระนอง เมื่อวันจันทร์ผมขับเลยทางเข้าครับเพราะไม่รู้ว่าอยู่ตรงนี้ ป้ายก็เขียนตรงไป ๆ จนเลยอ่ะครับ ซึ่งจวนเจ้าเมืองเข้าได้สองทางครับ เข้าตรงวงเวียนก็ได้ (จำไม่ได้ว่าวงเวียนรูปเต่าหรือมังกรลืม) ส่วนอีกทางคือเลี้ยวซ้ายแยกก่อนข้ามสะพานค้อซูเจี้ยงครับ
ประวัติความเป็นมาของจวนเจ้าเมือง หรือ บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง
     จวนเจ้าเมืองระนอง ในค่ายเจ้าเมืองระนอง สร้าง ในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ผู้สร้างคือ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) บุตรชายคนที่ 2 เริ่มสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2420 หลังเหตุการณ์กุลีจีนกบฏ มีเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่เศษ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ฉบับทั่วไป เล่าที่ 113 ตอนพิเศษ 50 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2539

     สิ่งที่น่าสนใจ คือ ศาลบรรพบุรุษต้นตระกูล ณ ระนอง 4 รุ่น ป้ายหน้าศาลบรรพบุรุษ มีอักษรภาษาจีนฮกเกี้ยนอ่านว่า เกา - หยางเกา ความหมาย "ดวงตะวันอันสูงส่ง" บ้านนี้มากด้วยขุนนาง บ้านนี้มากด้วยแก้วแหวนเงินทอง หรีดโลหะชุบเงินและทอง พระราชทานโดยสมเด็จพระดำรงราชานุภาพ โอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แผ่น ศิลาจารึก พระราชทานพระราชานุญาต ทำคำจารึกไว้เป็นเกียรติยศจากพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ภายในจวนเจ้าเมือง ยังเป็นที่เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของต้น ตระกูล ณ ระนอง ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับ ความเจริญเติบโตของเมืองระนอง

ผมถ่ายมาได้แค่นี้ครับ ข้างในมีสุนัขหลายตัวไม่กล้าเดินเข้าไปลึกมากกลัวโดนกัด และอีกอย่างเดี๋ยวผมจะเข้างานสายด้วยครับ พอหอมปากหอมคอพอ คราวหน้ามาจะจัดเต็มที่เลยครับ 

วันนี้ได้แค่ 2 ที่ครับ ฝนฟ้าเป็นใจแค่นี้ ขากลับผมเลยลองขับกลับอีกทางครับ และแล้วก็ไปเจอนี่เลยครับ
ก่อนกลับกรุงเทพฯ เราต้องได้ของที่มีแค่ระนองที่เดียวติดไม้ติดมือกลับบ้าง ตอนไปเสียดาย ชุดขาว-ฟ้า กับสีเขียวหมด เหลือแต่สีเหลือง อย่างน้อยก็ได้ละน่ะ วันนี้ขอจบแค่นี้นะครับ จบตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น